Apec 2022 - APECprompt Thaiprompt

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ APEC

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ APEC

1.  APEC ย่อมาจาก Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 

2. APEC ก่อตั้งใน 2532 มีเป้าหมายหลักคือ ส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน และความร่วมมือในด้านมิติสังคมหรือการพัฒนาด้านต่างๆในกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แถบมหาสมุทรแปซิฟิค เช่น ด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เป็นต้น 

3. APEC จัดประชุมครั้งแรกที่ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย มีสมาชิกแรกเริ่ม 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน มีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี เขตปกครองพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เขตเศรษฐกิจไต้หวัน เวียดนาม และไทย 

4. APEC มีมูลค่าการค้ารวมกันสูงมาก คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก มีประชากรร่วมกันราว 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,700 ล้านล้านบาท หรือเกินครึ่งหนึ่งของ GDP โลก

5. APEC วางกรอบร่วมกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สินค้า บริการ การลงทุน รวมถึงผู้คน จะสามารถเคลื่อนย้ายไปมาหาสู่กันได้สะดวก ปลอดภัย มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ มีมาตรฐาน ภายใต้มาตรการที่เอื้อต่อการลงทุนระหว่างกัน

6. APEC มีจุดเด่นคือ รูปแบบของปฏิสัมพันธ์ โดยจะมีความเป็นทางการน้อยกว่าการประชุมในกรอบอื่น เขตเศรษฐกิจสมาชิกไม่ว่าเล็กหรือใหญ่จะมีเสียงเท่าเทียมกัน และสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้ได้โดยสมัครใจหรือเมื่อมีความพร้อม จึงเป็นเสมือนห้องทดลองแนวคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จร่วมกัน เช่น บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ APEC เป็นต้น

7. APEC จัดประชุมโดยประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก ปี 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการประชุมเอเปค ครั้งที่ 4 มีผลลัพธ์สำคัญ คือ การออกแถลงการณ์ประกาศจัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปค หรือ APEC Secretariat  ที่สิงคโปร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการการประชุมและประสานงานเรื่องต่างๆ 

สำหรับการเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 2 ของไทย เกิดขึ้นใน ปี 2546 นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นการประชุมเอเปค ครั้งที่ 15 ผลลัพธ์สำคัญ คือ การสนับสนุนให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก และการการต่อต้านการก่อการร้ายที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

8. APEC Thailand 2022 หรือปี 2565 นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพอีกครั้ง การประชุมจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ภายใต้แนวคิด “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” หรือ  Open : Connect : Balance สิ่งที่ประเทศไทยจะผลักดันในกรอบความร่วมมือครั้งนี้ ได้แก่ 

  • เปิดกว้างในทุกโอกาส – จะสานต่อการดำเนินงานในการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการไหลเวียนสินค้าจำเป็น เช่น วัคซีนโควิด-19 และสินค้าทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังตระหนักถึงการเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล เช่น กระบวนการระบบศุลกากรที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการดำเนินธุรกิจที่ช่วยลดต้นทุนจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และไทยจะส่งเสริมการหารือการจัดทำรายการสินค้าสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมให้มีความทันสมัย 
  • เชื่อมโยงในทุกมิติ – เน้นในเรื่องการกลับมาเชื่อมโยงกันผ่านการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างปลอดภัย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 
  • สมดุลในทุกแง่มุม – เป็นโอกาสดีในการนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy Model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทย โดยเป็นแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนระดับต่ำ รวมถึงการสานพลังร่วมสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและเยาวชน จะผลักดันให้เกิดการใช้แนวคิดใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยีและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยไทยจะเน้นเรื่องการคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งในเรื่องการรักษาป่าไม้ การจัดการขยะทางทะเล และการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายด้วย นอกจากนี้ ยังมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบอาหารและการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหารด้วย 

9. APEC 2022 มี ‘ชะลอม’ เป็นตราสัญลักษณ์ ออกแบบโดย ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากความต้องการนำความเป็นไทยสอดแทรกให้สอดคล้องกับแนวคิด Open :Connect : Balance  ซึ่งชะลอมเป็นเครื่องจักสานของไทย ใช้ใส่สิ่งของต่างๆ และเป็นสิ่งของสัญลักษณ์การค้าขายและการให้ของไทยมาแต่โบราณ เส้นตอกไม้ไผ่ที่สอดประสานกันทั้งแข็งแรงและยืดหยุ่น เหนียวแน่นและคงทน เสมือนการโอบอุ้มเศรษฐกิจภูมิภาคให้ “มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน”

ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ชะลอม ใช้การจัดเรียงเส้นตอกไม้ไผ่สานกันจำนวน 21 ช่อง สื่อถึง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค Open – ชะลอมสื่อถึงการค้าที่เปิดกว้าง Connect – ชะลอมเป็นสิ่งบรรจุสินค้าหรือส่งของสำหรับใช้ในการเดินทาง และสื่อถึงความเชื่อมโยง และ Balance – ชะลอมทำจากวัสดุธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ BCG Economy Model การแทรกด้วยสีเส้นตอก 3 สี ได้แก่ สีน้ำเงิน สื่อถึงการเปิดกว้าง สีชมพู สื่อถึงการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง และสีเขียวสื่อถึงความสมดุล

10. APEC ครั้งที่ผ่านมา มีประเทศนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับมอบตำแหน่งเจ้าภาพเอเปคจากนิวซีแลนด์ให้ไทย พร้อมกับการรับมอบไม้พายวากะ (Waka Paddle) อันเปรียบเสมือนการขับเคลื่อนเรือเอเปคต่อไปข้างหน้า 

ปี 2565 ประเทศไทยจึงเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปค ด้วยเป้าหมายผลักดันการพัฒนาภูมิภาคไปสู่การเจริญเติบโตอย่างครอบคลุม และการประชุมที่จะมีขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้ จะเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันของผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจเป็นครั้งแรก ในบรรยากาศของการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งเป็นโอกาสอันดีสำหรับประเทศไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและท่องเที่ยว ซึ่งสามารถฟื้นฟูการเดินทางและทำธุรกิจแบบพบหน้า และยังเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดงความพร้อมว่า สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิดได้ โดยยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้พร้อมกัน

“APEC พร้อม ไทยพร้อม”

จึงขอเชิญชวยคนไทยทุกคน มาร่วมกันแสดงพลังและพร้อมเป็นเจ้าภาพในวาระแห่งความภาคภูมิใจนี้ไปด้วยกัน

หัวข้อหลักของเอเปค ๒๕๖๕

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี ๒๕๖๕ มีพลวัตและความท้าทาย

แตกต่างจากเมื่อครั้งที่ไทยเป็นเจ้าภาพฯ ในปี ๒๕๔๖ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสภาวการณ์โควิด-๑๙ ที่เอเปคกำลังปรับตัวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ ๆ ไทยจึงให้ความสำคัญกับการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในยุคหลังโควิด-๑๙ อย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน โดยกำหนดหัวข้อหลักคือ Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” เพื่อเปิดกว้างสู่ทุกโอกาสด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านมุมมองใหม่ที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด-๑๙ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม เชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวกและปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมโยงทางดิจิทัล และส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เน้นสร้างสมดุลในทุกด้านมากกว่าสร้างกำไร ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเกษตรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ทั้งนี้ ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG) มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้เอเปคและไทยประโยชน์ของไทยในการเป็นเจ้าภาพเอเปค

การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะส่งเสริมนโยบายและทิศทางการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในหลายมิติ โดยไทยจะได้ประโยชน์จากการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-๑๙ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้ยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจให้เป็นสากล เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาครัฐและภาคเอกชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ การเป็นเจ้าภาพ

การประชุมของไทยท่ามกลางบรรยากาศการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-๑๙ ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและท่องเที่ยว เป็นการฟื้นฟูการเดินทางและทำธุรกิจแบบพบหน้า และยังเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดงความพร้อมว่าไทยสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิดได้โดยยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้พร้อมกัน

ประเด็นที่ไทยมุ่งผลักดันให้เป็นรูปธรรมและเป็นผลลัพธ์ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ (๑) การส่งเสริมการค้าการลงทุนเสรีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

ในภูมิภาค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเอเปค ผ่านการขับเคลื่อนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of Asia-Pacific: FTAAP) ในบริบทของ

การเจริญเติบโตหลังโควิด-๑๙ ที่จะต้องยั่งยืนและสมดุล และเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน (๒) ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย ผ่านการจัดตั้งกลไก APEC Safe Passage Taskforce เพื่อหารือแนวทางที่ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย อาทิ การอำนวยความสะดวกอาชีพสำคัญ เช่น ลูกเรือ การส่งเสริมการใช้ Public Key Infrastructure ในการแชร์ข้อมูลด้านสุขภาพในภูมิภาค และการขยายคุณสมบัติของบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (APEC Business Travel Card: ABTC) ให้ครอบคลุมผู้เดินทางกว้างขึ้น และ (๓) การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในเอเปค ด้วยการจัดทำเอกสารผลลัพธ์ระดับผู้นำเพื่อเร่งการพัฒนาตามแผนงานของเอเปคไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็ง ยืดหยุ่น ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุลในยุคหลัง โควิด-๑๙ ตามแนวคิด BCG Economy

สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในปี ๒๕๖๕

สาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในปี ๒๕๖๕ ประกอบด้วย

ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน

ไทยจะผลักดันการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ MSMEs ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการหารือ

เชิงนโยบายการค้าระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและ

ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการจัดทำ FTAAP หลังยุคโควิด-๑๙ รวมถึงการ

สานต่อการดำเนินงานตามปฏิญญาเรื่องการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็นปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Declaration on Facilitating the Movement of Essential Goods) แถลงการณ์ห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-๑๙ (Statement on COVID-19 Vaccine Supply Chains)และแถลงการณ์การบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็น (Statement on Services to Support the Movement of Essential Goods) 

ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting) ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕

ความร่วมมือด้านการคลัง

ไทยจะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อให้ สอดรับกับการผลักดัน BCG Economy ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ และภารกิจของรัฐบาลในการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับทุกภาคส่วน

ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดหาแหล่งเงินทุนผ่านตลาดทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศนอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเป็นสังคมดิจิทัล (Digitalization for Digital Economy) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ การเชื่อมโยงการชำระเงิน ในภาคการเงิน การระดมทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการในตลาดทุน เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกันในภูมิภาค

ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับปลัดกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางเอเปค (APEC Finance and  Central Bank Deputies’ Meeting: APEC FCBDM) ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังเอเปค (APEC Senior Finance Officials’ Meeting: APEC SFOM) ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ และการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ 

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

ไทยจะนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาค

เอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม: การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations on “Tourism of the Future: Regenerative Tourism”) โดยแนวคิดนี้สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกทั้งระบบอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้เกิดการท้าทายแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซึ่งเป็นแนวคิดกระแสหลักด้านการท่องเที่ยวทั่วโลกมานานหลายทศวรรษ

ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค (APEC Tourism Ministerial Meeting) ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕

ความร่วมมือด้านการเกษตร

ไทยจะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับนโยบาย “3S” ได้แก่ Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเปค นอกจากนี้ ไทยในฐานะประธานหุ้นส่วนเชิงนโยบายความมั่นคงอาหาร

เอเปค (APEC Policy Partnership on Food Security: PPFS) จะมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการของแผนงานความมั่นคงอาหารเอเปคมุ่งสู่ปี ค.ศ. ๒๐๓๐ (APEC Food Security Roadmap Towards 2030 Implementation Plan) เพื่อให้เขตเศรษฐกิจสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหาร

ในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกร่วมกันต่อไป

ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค (APEC Ministerial Meeting on Food Security) ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส

เอเปค ครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๗ – ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นการพบกันของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการเกษตรและอาหารของเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อหารือประเด็นสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงอาหารในภูมิภาคอย่างยั่งยืน  

ความร่วมมือด้านป่าไม้

ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ ๕(5th APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry)ช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นเวทีให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านป่าไม้ของเขตเศรษฐกิจเอเปคได้ร่วมหารือและกำหนดทิศทางการส่งเสริมการดำเนินงานด้านป่าไม้ในภูมิภาค โดยไทยจะผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ และเปลี่ยนข้อได้เปรียบให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรป่าไม้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างชุมชนเข้มแข็งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจ BCG

นอกจากนี้ จะมีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการต่อต้านการ

ค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Experts Group on Illegal Logging and Associated Trade) โดยไทยจะใช้โอกาสใน

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ผลักดันการจัดทำเครื่องมือที่เหมาะสมในการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย และต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น การรับรอง (Certificate) การตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ (Timber Legality Assurance System) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เป็นต้น

 

ความร่วมมือด้านกิจการสตรี

ไทยจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจของสตรีในยุคหลังโควิด-๑๙ และยุคดิจิทัล โดยจะนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ เพื่อสร้างการเจริญเติบโตที่สมดุลและครอบคลุม มุ่งเน้นการดำเนินงานด้านสตรีที่ยึดโยงกับแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลา เซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม (La Serena Roadmap for Women and Inclusive Growth)  นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันการสร้างเครือข่ายสตรีผู้ประกอบการ BCG ไทยไปขยายผลในเอเปค เพื่อส่งเสริมบทบาท และสร้างโอกาสให้กับสตรีผู้ประกอบการ BCG ของไทยในระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ ไทยจะจัดประชุมเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ (APEC Women and the Economy Forum: WEF) และ (High-Level Policy Dialogue on Women and the Economy: HLPDWE)  ในช่วงเดือนกันยายน ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นกลไกในการเสริมพลังสตรีและเพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภูมิภาคเอเปค ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสริมการลงทุนด้านโภชนาการ สุขภาพ และการศึกษาของเด็กมากยิ่งขึ้น

 

ความร่วมมือด้านการส่งเสริม MSMEs

ไทยจะจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “Ready for the ‘Next Normal’: How MSMEs should adapt to an evolving market landscape” เพื่อหารือข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดสำหรับ MSMEs ในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป โดยจะแสวงหากลไกสนับสนุน MSMEs ให้ฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุม นอกจากนี้ ไทยได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ MSMEs เพื่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ครอบคลุมและยั่งยืน: การลดขยะภาคอาหารในห่วงโซ่อุปทาน” เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๔ มกราคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไทยขับเคลื่อนภายใต้ ยุทธศาสตร์เอเปคว่าด้วยวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน และมีนวัตกรรม (APEC Strategy for Green, Sustainable and Innovative MSMEs) และสอดรับกับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญในการขับเคลื่อนเอเปค ๒๕๖๕ ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ 

ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (APEC SME Ministerial Meeting) ระหว่างวันที่ ๕-๑๐ กันยายน ๒๕๖๕

ความร่วมมือด้านสาธารณสุข

ไทยเสนอให้หัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมคณะทำงานด้านสุขภาพของเอเปค (APEC Health Working Group: HWG) ในปี ๒๕๖๕ คือ “Open to Partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy.” โดยจะมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ 

(๑) ด้าน Open to Partnership จะขยายการสร้างสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อพัฒนาความร่วมมือในประเด็นด้านการแพทย์ และสาธารณสุข

(๒) ด้าน Connect with the World จะจัดทำเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อจำกัดการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเปคและหลักฐานการได้รับวัคซีน และการพัฒนามาตรฐานการใช้งานร่วมของระบบแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-๑๙ (Interoperability of Vaccination Certificates) ระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค และ 

(๓) ด้าน Balance Health and Economy จะจัดทำแถลงการณ์ร่วมของการประชุม 12th High-Level Meeting on Health and the Economy ซึ่งไทยจะผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ควบคู่กับการส่งเสริมประเด็นการเพิ่มการลงทุนด้านความมั่นคงทางสุขภาพ (health security) และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุข (digital health) เพื่อลดผลกระทบของภัยคุกคามทางสุขภาพต่อเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 12th High-Level Meeting on Health and the Economy ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๓ ในช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๕ โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นการพบปะระหว่างเขตเศรษฐกิจ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือประเด็นสำคัญด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ซึ่งการจัดประชุม APEC ปีนี้ ประกอบด้วยสมาชิกจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ภายใต้ธีม “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ Open. Connect. Balance.” สำหรับการประชุมดังกล่าว จะจัดขึ้นอย่างเป็นทางการช่วงวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ในรูปแบบการประชุมแบบพบหน้ากันเต็มรูปแบบ (physical meeting) เป็นครั้งแรก หลังจากต้องจัดประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (video conference) ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 

เอเปค (APEC) เป็นการรวมกลุ่มแบบพหุภาคี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 มีเป้าหมายหลัก เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในมิติสังคมและการพัฒนาต่าง ๆ โดยสาขาความร่วมมือที่ไทยให้ความสำคัญในปี 2565 ประกอบด้วย 8 เรื่อง ได้แก่ ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน ด้านการคลัง ด้านการท่องเที่ยว ด้านการเกษตร ด้านป่าไม้ ด้านกิจการสตรี ด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises : MSMEs) และด้านสาธารณสุข

สำหรับการประชุมเอเปคที่ประเทศไทยครั้งนี้ นับเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะได้ใช้ประโยชน์ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตของโควิด-19 ให้เกิดแนวทางที่เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและการท่องเที่ยว จึงต้องติดตามต่อว่าผลลัพธ์จากการที่ไทยเป็นเจ้าภาพ APEC 2022 Thailand ครั้งนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

บทบาทของไทยในเอเปค

ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ไทยได้รับประโยชน์อย่างยิ่งในจากการเป็นสมาชิกเอเปค โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประชุมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้นำ รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส ตลอดจนการประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญในกรอบความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสให้ไทยเข้าไปผลักดันและร่วมกำหนดทิศทางความร่วมมือ ของเอเปคให้สอดคล้องกับนโยบายของไทย นอกจากนี้ ไทยยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเอเปคในการนำไปจัดทำโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อไทยแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกโดยรวมอีกด้วย ที่ผ่านมา ไทยได้รับการสนับสนุนเงินทุนในการจัดทำโครงการในลักษณะดังกล่าวจากเอเปค เฉลี่ยปีละประมาณ 300,000.- ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ไทยต้องเสียค่าสมาชิกให้เอเปค ปีละ 75,000  ดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยมุ่งเน้นผลักดันผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมภายใต้หัวข้อหลัก คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน

สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.” ประกอบด้วย (1) การเปิดกว้างทุกโอกาส (2) การเชื่อมโยงทุกมิติ และ (3) ความสมดุลทุกแง่มุม 

          สำหรับประเด็น “การเปิดกว้างในทุกโอกาส” ไทยจะสานต่อการดำเนินงานในการเปิดเสรีทางการค้าและ

การลงทุน โดยเฉพาะการไหลเวียนสินค้าจำเป็น เช่น วัคซีนโควิด-19 และสินค้าทางการแพทย์ เป็นต้น โดยไทยตระหนักถึงการเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล อาทิ กระบวนการระบบศุลกากรที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการดำเนินธุรกิจที่ช่วยลดต้นทุนจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ ไทยจะส่งเสริมการหารือการจัดทำรายการสินค้าสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมให้มีความทันสมัย 

ส่วนประเด็น “การเชื่อมโยงในทุกมิติ” ไทยจะเน้นในเรื่องการกลับมาเชื่อมโยงกันผ่านการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างปลอดภัย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 

          และประเด็น “ความสมดุลในทุกแง่มุม” ไทยมองเห็นโอกาสที่ดีในการนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทยในเวทีเอเปค โดยเป็นแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน อาทิ การปล่อยก๊าซคาร์บอนระดับต่ำ รวมถึงการสานพลังร่วมสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและเยาวชน ในเรื่องการส่งเสริมแนวคิด BCG Economy Model  การสานต่อการสนับสนุน MSMEs กลุ่ม Start-ups และสตรี ในการใช้แนวคิดใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยีและการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ไทยยังเน้นเรื่องการคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติทั้งในเรื่องการรักษาป่าไม้ การจัดการขยะทางทะเล และการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมายด้วย นอกจากนี้ ไทยยังมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบอาหารและการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหารด้วย 

 

ไทย เตรียมเป็นเจ้าภาพ การ “ประชุมเอเปค” อีกครั้งในรอบ 20 ปี

ในปี 2565 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค 2022 (APEC 2022) แต่รู้หรือไม่ก่อนหน้านี้ประเทศไทย เคยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็มีผลลัพธ์ที่น่าสนใจไม่น้อย

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ครั้งแรกของไทย มีขึ้นที่ กรุงเทพฯ เมื่อปี 2535 ในยุคนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งครั้งนั้นนับเป็นการประชุมเอเปค ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยผลลัพธ์สำคัญ คือ การออกแถลงการณ์ประกาศจัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้นที่สิงคโปร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการการประชุมและประสานงานเรื่องต่างๆ

ส่วนการเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ของไทย มีขึ้นที่ กรุงเทพฯ เมื่อปี 2546 ในยุคนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นการประชุมเอเปค ครั้งที่ 15 โดยผลลัพธ์สำคัญ คือ การสนับสนุนให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาภายใต้องค์การการค้าโลก และการการต่อต้านการก่อการร้ายที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

Shared:

Recent Post

Follow Us

Related News

ข่าวสาร
Thailand has been given the immense honor of hosting the Asia-Pacific Economic Cooperation, or APEC, this year. The role comes with major opportunities and
ข่าวสาร
“เราภูมิใจที่สหรัฐ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก (APEC) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความทุ่มเทของเราในการยกระดับการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอเมริกา และธำรงภูมิภาคอินโด – แปซิฟิก ที่เสรีและเปิดกว้าง ประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริสเสนอเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีหน้า เพราะเรามุ่งมั่นขยายและสร้างเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และเราขอขอบคุณมิตรสหายสมาชิกเอเปคที่สนับสนุนสหรัฐ ฯ ในบทบาทดังกล่าว “เป้าหมายสูงสุดประการหนึ่งของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือ การเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งและพึ่งพาได้ของสมาชิกเอเปค ตลอดจนกำหนดวิถีทางสู่โอกาส ความมั่งคั่ง และการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับเราร่วมกันทุกฝ่าย
ข่าวสาร
30 กันยายน 2565 – 8 สำนักเขตประชาสัมพันธ์ได้ฤกษ์เปิดตัวคาราวานรถนิทรรศการ APEC 2022 สัญจร “APEC พร้อมไทยพร้อม” พร้อมเดินหน้าบุก 76 จังหวัดสร้างการรับรู้ให้คนไทยทุกระดับร่วมภาคภูมิใจเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปค  พลโทสรรเสริญแก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (30 กันยายน 2565) กรมประชาสัมพันธ์ ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวรถนิทรรศการ APEC
ข่าวสาร
การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC 2022  “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” Open. Connect. Balance. จะมีขึ้นในวันที่ 14 – 19 พฤศจิกายน 2565 ทุกหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม ต่างมีภาระหน้าที่และแบ่งบทบาทกันไปในหลายด้าน ในห้วงเวลาที่เหลืออีกราว 2 เดือน